วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สิ่งที่ควรรู้การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ


สิ่งที่ควรรู้การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ  เป็นการปลูกผักไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและวัชพืช  ซึ่งในยุคปัจจุบันผักที่วางขายตามท้องตลาดมีสารเคมีตกค้างค่อนข้างมาก  ทำให้เป็นพิษภัย

ต่อผู้บริโภค   การปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักปลูกพืชผักไว้บริโภคเองจะช่วยประหยัดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครอบครัวสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง
             ช่วงปัจจุบันสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของผู้บริโภคอย่างมาก  รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย   ผู้ปกครองไปรับจ้างต่างจังหวัดทิ้งลูกอยู่บ้านกับตายายรอรับเงินช่วงสิ้นเดือน   ซึ่งเป็นมูลเหตุทำให้เด็ก

ไม่รู้จักวิธีการทำงาน  วิธีเพิ่มรายได้ในครอบครัว
กิจกรรมการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษในโรงเรียนจะทำให้ผู้เรียนได้เล่าเรียนวิธีการปลูกการดูแลรักษาโดยไม่ใช้สารเคมี  เป็นกิจกรรมที่นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้านได้
          จังหวัดสุรินทร์   มีพื้นที่ที่เหมาะในการปลูกพืชผักได้ตลอดปี   สภาพดินบริเวณแปลงเกษตรเป็นดินเหนียวเพราะนำดินที่ขุดจากสระมาถมพื้นที่แปลงเกษตร   ได้ปรับปรุงแก้ไขโดยใส่แกลบสดแกลบเผา  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  สภาพ

ของดินดีขึ้น   ในช่วงหน้าฝนปลุกข้าวโพด   มะเขือ   ถั่ว    ปลายฤดูฝนปลูกพืชผักตามฤดูกาล   นักเรียนที่ปฏิบัติการปลูก   ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่   5  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่   3   โดยแบ่งแปลงให้แต่ละชั้นรับผิดชอบ
        ในการดำเนินงานปลูกในช่วงฤดูฝนให้ผู้เรียนชั้น   ม. 1 - 3  ลงปฏิบัติ   ส่วนชั้น  ป. 5 - 6   ลงปฏิบัติช่วงปลายฤดูฝน   ขณะลงปฏิบัติงานให้ครูประจำชั้นช่วยควบคุมดูแลโดยแบ่งให้รับผิดชอบแปลงละ   2 - 3   คน  ปลูกผักหมุน

เวียนตลอดปีการศึกษา
       กิจกรรมการปลูกสวนครัวปลอดสารพิษฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  รู้จักช่วยเหลือเพื่อน    มีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ  รู้จักใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์และสามารถนำ

ไปปฏิบัติที่บ้านได้
   การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษทำให้ชีวิตปลอดภัยจากสารเคมี  ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว   นักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้านเป็นแบบอย่างในตำบลได้
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก เพื่อให้ได้ผลผลิตพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ ควรใช้หลาย ๆ วิธี ผสมผสานกัน ทั้งวิธีกล การใช้สารชีวินทรีย์ สารธรรมชาติ และสารเคมีร่วมกันในการป้องกันกำจัดควบคู่กันไปกับการจัดการที่ดี
การเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บในระยะที่มีอายุแก่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผัก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณค่าทางอาหาร รสชาติ และสัณฐานรูปร่าง สีสัน ความสุกเหมาะสมและดีที่สุด เมื่อถึงมือผู้บริโภค การเก็บเกี่ยวควรทำด้วย

ความระมัดระวัง อย่าให้เกิดร้อยช้ำ รอยขีดข่วน เพื่อรักษาคุณภาพให้ดีที่สุด การสูญเสียของพืชผักหลังการเก็บเกี่ยวมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถิ่นอากาศร้อนของประเทศไทย ผักกินใบเป็นผักที่เน่าเสียได้ง่าย โดยเฉพาะหากใน

ระหว่างเก็บเกี่ยวผักมีการ บอบช้ำ ฉีกขาด หรือเป็นแผลจากการเก็บเกี่ยว และการขนย้ายที่ไม่ดีทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าทำลายง่ายดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเสียของพืชผักควรต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสมทั้งก่อน

การเก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยว
การรักษาคุณลักษณะผลผลิตพืชผักเบื้องต้นในแปลงหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องรีบนำเข้าที่ร่ม อย่าให้ตากแดด แล้วเร่งรีบระบายความร้อนภายในผลผลิตลง โดยการแผ่ออก อย่าวางสุมทับซ้อนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น